บริการสืบค้น

Custom Search
เป็นจุดชมวิวที่มองเห็นทิวทัศน์ได้กว้างไกล ตั้งอยู่บนเส้นทางสายเพชรบูรณ์-ตะพานหิน ถนนสายนี้สร้างขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อเปิดสู่เมืองเพชรบูรณ์ การก่อสร้างถนนเต็มไปด้วยความยากลำบาก ผู้คนที่สร้างทางจำนวนมากเสียชีวิตด้วยโรคไข้มาลาเรีย

ตั้งอยู่บนถนนเพชรรัตน์ ในตัวเมือง เป็นวัดเก่าแก่ ประดิษฐานพระพุทธมหาธรรมราชา พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดเพชรบูรณ์ ลักษณะเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องศิลปสมัยลพบุรี ชาวบ้านพบบริเวณหน้าวัดในแม่น้ำป่าสัก จึงได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่วัดแห่งนี้ ต่อมาพระพุทธรูปองค์นี้ได้หายไปและมีผู้พบอยู่ในแม่น้ำบริเวณที่พบครั้งแรก จึงถือกันเป็นประเพณีของจังหวัดเพชรบูรณ์ว่า เมื่อถึงเทศกาลสารทไทย จะมีการแห่ทำพิธีอุ้มพระดำน้ำเพื่อความเป็นสิริมงคล


จากตำนานเล่าต่อกันว่า ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งได้ออกหาปลาในแม่น้ำป่าสัก อยู่มาวันหนึ่งไม่สามารถหาปลาได้แม้แต่ตัวเดียว เมื่อมาถึง “วังมะขามแฟบ” หรือบริเวณท่าน้ำวัดโบสถ์ชนะมารในปัจจุบัน เกิดเหตุมหัศจรรย์ขึ้นเนื่องจากกระแสน้ำในบริเวณวังมะขามแฟบที่กำลังไหลเชี่ยวกราก เริ่มหยุดนิ่งอยู่กับที่
จากนั้นก็ค่อยๆ มีพรายน้ำผุดขึ้นมาทีละน้อย จนแลดูคล้ายน้ำเดือด กระทั่งกลายเป็นวังน้ำวนขนาดใหญ่ ค่อยๆ ดูดเอาองค์พระพุทธรูปองค์หนึ่งลอยขึ้นมาเหนือน้ำ และมีลักษณะอาการคล้ายดำผุดดำว่ายตลอดเวลา ทำให้ชาวประมงกลุ่มนี้ต้องลงไปอัญเชิญพระพุทธรูปดังกล่าวขึ้นมาประดิษฐานไว้ ที่ วัดไตรภูมิ
แต่ในปีถัดมา ตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือนสิบ วันประเพณีสารทไทย พระพุทธรูปดังกล่าวหายไป จนชาวบ้านต้องช่วยกันระดมหา ในที่สุดไปพบพระพุทธรูปองค์ดังกล่าวกลางแม่น้ำป่าสัก บริเวณวังมะขามแฟบ สถานที่ชาวประมงพบพระพุทธรูปองค์นี้ในครั้งแรก กำลังอยู่ในอาการดำผุดดำว่าย จึงได้ร่วมกันอัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานที่วัดไตรภูมิเป็นครั้งที่สอง
พร้อมร่วมกันถวายนามว่า “พระพุทธมหาธรรมราชา” และกำหนดให้พ่อเมืองเพชรบูรณ์ ต้องอัญเชิญองค์พระไปประกอบพิธีอุ้มพระดำน้ำทุกปี เนื่องในวันสารทไทย หรือวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 เพราะต่างมีความเชื่อว่า หลังประกอบพิธีอันศักดิ์สิทธิ์นี้แล้ว จะทำให้ไพร่ฟ้าประชาชนต่างอยู่เย็นเป็นสุข ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์ธัญญาหาร มีความอุดมสมบูรณ์ และเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ผลดี แต่หากปีใดมีการละเลย นอกจากจะทำให้เกิดความแห้งแล้งแล้ว ยังมีโรคระบาดเกิดขึ้นอีกด้วย
“พระพุทธมหาธรรมราชา” เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะสมัยลพบุรี หล่อด้วยเนื้อทองสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง 13 นิ้ว สูง 18 นิ้ว ไม่มีฐาน มีพุทธลักษณะพระพักตร์กว้าง พระโอษฐ์แบะ พระกรรณยาวย้อยจนจรดพระอังสา ที่พระเศียรทรงชฎาเทริดหรือมีกะบังหน้า ทรงสร้อยพระศอพาหุรัดและประคดเป็นลวดลายงดงาม อีกทั้งแลดูน่าเกรงขามอย่างยิ่ง ส่วนประวัติการสร้างนั้นไม่ปรากฏเด่นชัด แต่ชาวเพชรบูรณ์มีความเชื่อว่า พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด อำเภอหล่มสักปัจจุบัน ได้รับพระราชทานจากพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กษัตริย์แห่งนครธม ให้นำไปประดิษฐานเป็นพระคู่บ้านคู่เมือง หลังจากทรงอภิเษกสมรสกับพระนางสิงขรมหาเทวี แต่หลังจากพ่อขุนผาเมืองร่วมกับพ่อขุนบางกลางท่าว เจ้าเมืองบางยาง อำเภอนครไทยปัจจุบัน พระสหาย กอบกู้อิสรภาพ ทำให้พระนางสิงขรมหาเทวีแค้นเคืองถึงกับเผาเมืองราดจนย่อยยับ จากนั้นตัดสินใจกระโดดแม่น้ำป่าสักฆ่าตัวตาย ทำให้ไพร่พลเสนาอำมาตย์ต้องอัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชา ลงแพล่องไปตามแม่น้ำป่าสักเพื่อหลบหนีไฟ


ปรากฏว่าแม่น้ำป่าสักมีความคดเคี้ยวและกระแสน้ำไหลเชี่ยวกราก ทำให้แพที่อัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชาแตก องค์พระจมดิ่งลงสู่ก้นแม่น้ำหายไป กระทั่งต่อมาชาวประมงได้ไปพบ จนก่อให้เกิดตำนานมหัศจรรย์และ “ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ”
การอัญเชิญองค์พระพุทธมหาธรรมราชา และประกอบพิธีอุ้มพระดำน้ำ ต้องเป็นพ่อบ้านพ่อเมือง หรือผู้ที่มีวิญญาณแก่กล้าเท่านั้น ที่กระทำได้ ปัจจุบันคือผู้ว่าราชการจังหวัดนั่นเอง
อีกเรื่องเล่าต่อๆกันมา
“พระพุทธมหาธรรมราชา” เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะสมัยลพบุรี หล่อด้วยสัมฤทธิ์ ขนาดหน้าตักกว้าง 13 นิ้ว สูง 18 นิ้ว ไม่มีฐาน พุทธลักษณะพระพักตร์กว้าง พระโอษฐ์แบะ พระหนุป้าน พระกรรณยาวย้อยจดถึงพระอังสา พระเศียรทรงชฎาเทริด มีกระบังหน้า ทรงสร้อยพระศอพาหุรัด และรัดประคตเป็นลวดลายงดงาม โดยประวัติการสร้างไม่ปรากฏเด่นชัด มีเพียงการสันนิษฐานว่า ภิกษุแก่กล้าวิทยาคม 2 รูป เป็นผู้สร้างขึ้นสมัยลพบุรี ในช่วงที่ขอมเรืองอำนาจ จนกระทั่งต่อมากรุงสุโขทัยขยายอำนาจ จึงถูกอัญเชิญไปประดิษฐาน
จนมาถึงยุค “พระยาลิไท” กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์พระร่วง ขณะนั้นเมืองเพชรบูรณ์ ซึ่งอยู่ในขอบขัณฑสีมาของกรุงสุโขทัย ได้ว่างกษัตริย์ปกครอง จึงดำริให้ “ออกญาศรีเพชรรัตนานัครภิบาล” (นามเดิมว่าเรือง) ไปครองเมือง พร้อมกับมอบ “พระพุทธมหาธรรมราชา” ให้ไปเป็นพระคู่บ้านคู่เมือง โดยได้กำชับว่าหากแวะที่ใดให้สร้างวัด และนำองค์พระประดิษฐาน ซึ่งการเดินทางสมัยนั้นต้องล่องไปตามลำน้ำต่าง ๆ ใช้ระยะเวลาแรมปีกว่าจะถึงเมืองเพชรบูรณ์ และเมื่อมาถึงมีดำริจะนำ “พระพุทธมหาธรรมราชา” ประดิษฐานวัดมหาธาตุ แต่เนื่องจากเกรงว่าจะเป็นการขัดต่อพระบรมราชโองการ จึงสร้างวัดขึ้นใหม่และตั้งชื่อว่า “วัดไตรภูมิ” เพื่อเฉลิมพระเกียรติแก่พระร่วงที่ได้พระราชนิพนธ์เรื่องไตรภูมิพระร่วง พร้อมกับนำองค์พระขึ้นประดิษฐาน
ส่วนความเชื่ออีกด้านหนึ่งเชื่อกัน ว่า “พ่อขุนผาเมือง” เจ้าเมืองราด ได้รับพระราชทานจาก “พระเจ้าชัยวรมันที่ 7” กษัตริย์นครธม ผู้เป็นพ่อตา ให้นำพระไปประดิษฐานเป็นพระคู่บ้านคู่เมือง ภายหลังอภิเษกสมรสกับ “พระนางสิงขรมหาเทวี” ราชธิดา แต่หลังจาก “พ่อขุนผาเมือง” ร่วมกับ “พ่อขุนบางกลางหาว” เจ้าเมืองบางยาง พระสหาย ยกทัพเข้ายึดครองกรุงสุโขทัย ทำให้ “พระนางสิงขรมหาเทวี” โกรธแค้นและเผาเมืองราด จากนั้นพระนางได้โดดลงแม่น้ำป่าสักปลงพระชนม์ชีพ เหล่าเสนาอำมาตย์ได้พากันอัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชา ลงแพล่องไปตามแม่น้ำป่าสัก เพื่อหนีเปลวเพลิง แต่เนื่องจากแม่น้ำป่าสักมีความคดเคี้ยวและเชี่ยวกราก ทำให้แพอัญเชิญแตก องค์พระเลยจมลงในแม่น้ำ กระทั่งต่อมากลุ่มคนหาปลาไปพบตามตำนานดังกล่าว
ในการดำน้ำ จะมีการดำเพียง 2 ทิศ คือ หันหน้าทวนน้ำ (ทิศเหนือ) และหันหน้าตามน้ำ (ทิศใต้) ทิศละ 3 ครั้งเท่านั้น ซึ่งแสดงว่าชาวบ้านให้ความสำคัญกับแม่น้ำ และปริมาณน้ำที่เป็นปัจจัยสำคัญในการทำมาหากินในชีวิตประจำวันมากกว่าทิศ ตามดวงอาทิตย์ หลังจากเสร็จพิธีดำน้ำ จะมีกิจกรรมที่แสดงให้เห็นการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของคน เช่น การโยนข้าวต้มลูกโยน และอาหารให้กันระหว่างขบวนเรือของผู้ที่แห่ไปร่วมพิธี เป็นการสอนให้คนต้องมีการพึ่งพาและรู้จักแบ่งปันกัน การแข่งเรือทวนน้ำระหว่างหมู่บ้านต่าง ๆ ในลำน้ำ เป็นการฝึกการทำงานเป็นทีม รู้จักแบ่งหน้าที่กันทำ และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ" นายวิศัลย์ กล่าวและว่า ความน่าสนใจของงานปีนี้ ทางเทศบาลฯได้มีการจัดสร้างราชรถอัญเชิญในการแห่ทางบกคันใหม่ โดยสร้างจากไม้สักทองทั้งคัน นอกจากนี้เรืออัญเชิญยังมีการทำโขนเรืออัญเชิญเป็นรูปพญานาคศิลปะสมัยขอม เพื่อให้เข้ายุค อย่างสวยงามและตระการตายิ่งนัก จึงขอเชิญชวนมาร่วมสัมผัสประเพณีอันเก่าแก่ของชาวเมืองมะขามหวาน ได้ในวันดังกล่าว
นอกจากงานประเพณีอุ้มพระดำน้ำหนึ่งเดียวในโลกแล้ว ในงานยังมีกิจกรรมต่างๆ มากมาย ที่สามารถดึงให้นักท่องเที่ยวและประชาชนชาวเพชรบูรณ์มาเที่ยวงานอย่างมากมาย ตลอดช่วงเวลาแห่งการจัดงานในงานประเพณีอุ้มพระดำน้ำ
สิ่งหนึ่งถูกกำหนดพร้อมๆ กับงาน คือ เทศกาลอาหารอร่อย ซึ่งทางเทศบาลได้ทำการคัดสรรร้านค้า อาหารพื้นเมืองเพชรบูรณ์ อาหารสากล ที่ผ่านการรับรองจากหน่วยงานแล้วว่า มีความสะอาด รสชาติอร่อย และปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดยจัดขึ้นตลอดถนนสายสันคูเมือง
นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอีกมากมาย อาทิ การประกวดโต๊ะหมู่บูชา การแข่งขันตอบปัญหาท้องถิ่นและแต่งคำประพันธ์ กิจกรรมทางพระพุทธศาสนา การแสดงแสงสีเสียงตำนานมหัศจรรย์แห่งประเพณีอุ้มพระดำน้ำ การแข่งเรือทวนน้ำ ตลอดจนกิจกรรมงานมหรสพมากมาย 

link1

ศูนย์ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวทั่วไทย
กระบี่ กาญจนบุรี ขอนแก่น ชลบุรี เชียงใหม่ ชุมพร ไทย พระนครศรีอยุธยา พังงา พิษณุโลก แม่ฮ่องสอน ยะลา ระนอง สงขลา สุพรรณบุรี นครราชสีมา กรุงเทพมหานครฯ กาฬสินธุ์ มหาสารคาม นครนายก น่าน ประจวบคีรีขันธ์ ปัตตานี พะเยา พัทลุง เพชรบูรณ์ แพร่ ราชบุรี ลำปาง สตูล สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระแก้ว สระบุรี สิงห์บุรี สุราษฎร์ธานี อุทัยธานี ชัยภูมิ ตราด นครปฐม นนทบุรี บุรีรัมย์ ปทุมธานี ยโสธร ร้อยเอ็ด สกลนคร หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี อุบลราชธานี สุรินทร์ ภูเก็ต ระยอง เลย มุกดาหาร นครพนม ศรีสะเกษ หนองคาย อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก เชียงราย ลำพูน ตรัง นครศรีธรรมราช ปราจีนบุรี ลพบุรี ชัยนาท จันทบุรี เพชรบุรี สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา อ่างทอง กำแพงเพชร นครสวรรค์ นราธิวาส พิจิตร